วันนี้ผมจะกล่าวถึงสุดยอดเทคนิค ที่ ถ้าเป็นมือใหม่ๆคงมีการถามมากมายๆ
จะทำยังไงถึงทำอย่างงั้นได้ .... ดูนั้นมันขึ้นตั้งเยอะแล้ว ... ตัวนี้สุดยอด .....
ผมเชื่อทุกๆคน มีแนวทางที่อาจจะแตกต่างกัน ซึ่งอันนี้ก็ตามแต่ความถนัดของแต่ละคนนะครับ ผมจะขอแนะนำ วิธีการ ซึ่งผมถือว่าเป็นเทคนิคที่สำคัญๆ
เอาแบบว่ากัน ง่ายๆ และนะครับ ถ้าใครรับถือ ศาสนาพุทธ อาจจะเข้าใจได้ง่ายหน่อยนะครับ แต่ถ้ายาก ต้องขออภัยครับ
ผมเอามาเฉพาะหลักการปฎิบัตินะครับ หลักการปฎิบัติ ผมไม่ขออิงส่วนอื่นใดๆมากนะครับ เพราะผมก็ไม่ค่อยรู้เท่าไหร่
ผมมี วิธีการ มาแนะนำทุกท่านที่ ฝันอยากทำอะไร ก็แล้วแต่... ไม่ใช่เฉพาะตลาดหุ้นนะครับ
ผมไม่รับประกันความสำเร็จนะครับ แต่ผมรับประกันว่าวิธีการถูกต้องแน่นอน ....
บางที กระบวนการ อาจสำคัญกว่า ผลลัพธ์
เกริ่นด้วยประโยคสุดคลาสสิก " บุคคลแม้อยู่ใต้ดินแม้นอยู่เหนือฟ้า ก็มิอาจหลีกเลี่ยงผลบ่วงแห่งกรรม "
( 1. )ผมขอเริ่มด้วย หนึ่งเลยย ขันติ.... ความอดทนนั้นเอง แค่นั้นจริงหรือ
ถ้าคุณจะเป็นเซียนหุ้น ไม่ว่าสายไหย เราต้องมานั่งศึกษา.. แล้ว ศึกษา... อีก เราจะทนความล้มเหลวระหว่างเส้นทางได้นานแค่ไหน ถ้าไม่อดทน
เอาคำอธิบายมาแปะไว้ เบาๆๆ
คำว่า ขันติ แปลว่า ความอดทน เป็นลักษณะความเข้มแข็งของจิตใจในการพยายามทำความดี และถอนตัวออกจากความชั่ว
ที่ว่า อดทน ก็ความอดทนนั้น ขอให้เข้าใจว่า มีความอดทนต่อฝ่ายที่ไม่ดี เพื่อยืนหยัดอยู่ในทางที่ดีให้ได้ ไม่ใช่หมายความว่า ใครตกอยู่ในสภาพเดิมนั้น เสมอไปหามิได้ เช่น เป็นคนยากจนแล้วก็ทนอยู่ในความยากจน ไม่พยายามขวนขวายหาทรัพย์ หรือตัวเองเป็นคนขี้เกียจคร้านงานการไม่ทำ แม้จะถูกคนอื่นสับโขกอย่างไรก็ทนเอา อย่างนี้ไม่ใช่ขันติ ไม่ใช่ความอดทน ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นลักษณะความ “ตายด้าน” หรือ “ ” เท่านั้น
ขันติ ๔ สถาน ขันติจำเป็นสำหรับคราวที่เราต้องเผชิญกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะทำให้เราหันเหไปจากทางที่ดี เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นมีอยู่ ๔ ประเภท เพราะฉะนั้นในทางพระพุทธศาสนา ท่านจึงกำหนดไว้ว่า พึงบำเพ็ญขันติในที่ ๔ สถาน คือ
๑. อดทนต่อความลำบาก
๒. อดทนต่อความทุกขเวทนา
๓. อดทนต่อความเจ็บใจ
๔. อดทนต่ออำนาจกิเลส
ข้อนี้สำคัญเกินกว่าจะละทิ้ง ขันติเป็นปฐมบทของการเลือกกระทำในสิ่งดีๆ
๑. ความอดทนต่อความลำบาก หมายความว่า คนทำงานมาก ๆ แล้วได้รับความลำบากเหน็ดเหนื่อย หิวกระหาย หรือ ถูกแดด ลมฝนกระทบ ย่อมได้รับความลำบากนานับประการ คนที่ไม่มีขันติ เมื่อเผชิญกับความลำบากตรากตรำ มักจะทอดทิ้งการงานเสีย เป็นคนมือบาง เท้าบาง ทำอะไรทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ แต่ผู้มีขันติย่อมอดทนต่อสิ่งเหล่านี้ กัดฟันทนทำงานของตนให้สำเร็จ
๒. ความอดทนต่อทุกขเวทนา หมายความว่า ทนต่อทุกขเวทนาอันเกิดจากการเจ็บไข้ได้ป่วย คนที่ขาดขันติ เมื่อถึงคราวเจ็บไข้ได้ป่วย มักจะแสดงมารยาทอันไม่สมควรออกมา เช่น เจ็บปวดไม่พอจะร้องก็ร้อง ไม่พอจะครางก็คราง มีอาการกระบิดกระบอน เป็นคนเจ้ามายา โทโสโมโหง่าย บางคนอ้างความเจ็บป่วยเป็นเลิศ กระทำความชั่วต่าง ๆ ก็มี แต่ผู้มีขันติย่อมรู้จักอดกลั้นทนทานไม่ปล่อยตัวให้เสีย หรือตกไปในทางชั่วดังกล่าวนั้น
๓. ความอดทนต่อความเจ็บใจ หมายความว่า เมื่อถูกผู้อื่นกระทำล่วงเกินให้เป็นที่ขัดใจ เช่น ถูกด่าว่า หรือสบประมาท ผู้ขาดขันติ ย่อมเดือดดาลแล้วทำร้ายตอบ ด้วยการกระทำอันร้ายแรงเกินเหตุ เช่นว่า เหน็บแนมด้วยวาจาหยาบคายหรือก่อความวิวาท ตีรันฟันแทง สร้างเวรกรรมไม่สิ้นสุด เป็นทางนำมาซึ่งความหายนะแก่ตัวและครอบครัว แต่ผู้มีขันติ ย่อมรู้จักอดทนสอนใจตัวเอง หาวิธีแก้ไขให้เรียบร้อย เป็นผลดีด้วยความสงบ
๔. ความอดทนต่ออำนาจกิเลส หมายความว่า ความอดทนต่อความเจ็บใจในข้อ ๓ นั้น เป็นความอดทนต่ออารมณ์ ข้างฝ่ายเพลิดเพลิน เช่น ความสนุก การเที่ยวเตร่ การได้ผลประโยชน์ในทางที่ไม่เหมาะไม่ควร เป็นต้น
อารมณ์ที่น่ารัก น่าพอใจ ดูก็ไม่น่าจะต้องใช้ความอดทนอะไร เพราะไม่ทำให้เราลำบาก แต่ที่ต้องใช้ความอดทน เพราะทำให้เราเสียหายได้ คนที่ไม่มีขันติ มักจะทำกรรมอันน่าบัดสีต่าง ๆ ได้ เพราะอยากได้สิ่งที่ตนรัก เช่น รับสินบน ผิดลูกเมียเขา เห็นเงินตาโต รู้มาก เห่อเหิม เมาอำนาจ ขี้โอ่โอ้อวด เป็นต้น ก็การอดทนต่ออำนาจกิเลสเหล่านี้ ว่าโดยย่อ ๆ คือ อดทนต่ออำนาจความอยาก นั่นเอง
( 2. ) ต่อด้วย คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ
๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น
ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน
ฉันทะ คือ ความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ
วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง
จิตตะ หมายถึง ความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่
วิมังสา หมายถึง ความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่
* วันนี้ไม่ได้มาโม้ ว่าใจบุญสุนทาน แต่เอากระบวนการต่างๆมาให้ดู คนเราโดยปกตินั้น มักจะมองที่ผลลัพท์ แต่น้อยคนจะมองที่เส้นทางที่เขาเหล่านั้นได้ฝ่าฝันมา และน้อยคนเข้าไปอีก.. ที่จะลองทำความเข้าใจศึกษาเส้นทางเหล่านั้นดู
ผมก็ไม่ได้เก่งเลิศเลอสมบูรณ์แบบ แต่ไอชีวิตที่เป็นอยู่ก็ไม่อยากให้ใครทำความชั่วๆ เอาเป็นว่าแค่ไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ก็ถือว่าดีแล้วสำหรับผมน๊ะ ไม่ต้องถึงขนาดสมบูรณ์แบบหรอก
ถ้าเพียงทำตามสองข้อนี้ไม่ได้ ... การจะประสบความสำเร็จนั้น อาจจะยากอยู่
ผมยกตัวอย่างง่ายๆ เด็กรุ่นใหม่ไม่มีความอดทนที่จะเก็บเงิน เอาเงินไปซื้อมือถือ IT ต่างๆมากมายโดยไม่จำเป็นแล้วก็บอกว่าเงินหมด
หรืออีกหลายๆอย่าง ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น