สรุป
ไม่ได้ซื้อ CPF ไม้ 5 โอเย้ - - * ไปซื้อ PR ก่อน QE ออกสะงั้น กูจะบ้า 555+
วันนี้มาศึกษาเรื่อง มาตรการของ FED ซึ่งออกมาใหม่
ส่วนหนึ่งเอาเนื้อหาและการวิเคราะห์มาจาก The Youngblood Way@S2M
ไม่รู้คนเดียวกับ Mr.messenger หรือป่าว
บอกไว้ก่อนผมไม่เคยเรียนเศรษฐศาสตร์ เพราะฉะนั้นถ้ามั่วอย่ากานกัน
อันนี้ ผมจดบันทึกไว้เฉยๆ
จากกระทู้ด้านบน ผมซึ่งไม่ได้ดูสถานะการเงินโลกเลยช่วงนี้ ต้องขอขอบพระคุณ เป็นอย่างสูง
สัปดาห์ที่ผ่านได้มีประกาศจาก คณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (Federal Open Market Committee: FOMC)
โดยมีนโยบายสำคัญๆ คือ
1.Fed ประกาศใช้มาตรการ QE ด้วยการซื้อหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ( MBS)ในวงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน ทั้งนี้ Fed ระบุว่าการใช้มาตรการ QE3 ด้วยการซื้อ MBS จะช่วยให้ Fed สามารถเพิ่มถือครองหลักทรัพย์ระยะยาวได้อีก 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในแต่ละเดือนจนสิ้นปี 2555 ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันของอัตราดอกเบี้ยระยะยาว , สนับสนุนการทำธุรกรรมในตลาดกู้จำนองและยังช่วยผ่อนคลายภาวะตึงตัวด้านการเงินในวงกว้างด้วย ( อินโฟเควสท์ )
2.Fed มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ( Fed Funds Rate) ที่ระดับ 0 - 0.25% พร้อมขยายระยะเวลาการคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำเป็นพิเศษออกไปจนถึงกลางปี 2558 จากเดิมที่กำหนดไว้ถึงช่วงปลายปี 2557 ( อินโฟเควสท์ )
3.คงการใช้มาตรการ Operation Twist ต่อถึงสิ้นปี 55
ให้ชื่อว่า “QE3″
จะสังเกตุว่า QE3 ครั้งนี้ แตกต่างจาก QE1 และ 2 เล็กน้อย โดยครั้งที่ 1 Fed ประกาศเข้าซื้อสินทรัพย์ที่มีปัญหา ไม่สำคัญว่าจะเป็นสินทรัพย์ประเภทไหน แต่ส่วนใหญ่เป็นหนี้เสียในภาคสถาบันการเงิน โดยอนุมัติวงเงินแบ่งออกเป็นสองรอบ ส่วนครั้งที่ 2 Fed ประกาศวงเงินที่แน่นอนเพื่อเข้าซื้อพันธบัตรในระยะยาวเพียงอย่างเดียว เพื่อควบคุมไม่ให้ต้นทุนทางการเงินสูงเกินไป สำหรับครั้งนี้ วงเงินที่ Fed ประกาศ กลับแคบลงไปอีก โดยจำกัดการเข้าซื้อเฉพาะตราสารหนี้ที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน แสดงให้เห็นว่า “Fed เล็งเห็นปัญหาเฉพาะจุด และไม่ได้กังวลการชะลอตัวเศรษฐกิจในภาพรวมเหมือนเก่า” ดังจะสังเกตได้ว่า Statement ของ FOMC คราวนี้ เน้นให้เห็นถึงความกังวลในตลาดแรงงานเป็นหลัก
Fed มีแรงจูงใจอื่นอีกหรือไม่?
ตามที่เคย Update ผ่านหลายช่องทางไปว่า มาตรการซื้อพันธบัตรในตลาดรองของ ECB ถือเป็นแรงกดดันให้ Fed ต้องออกมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งเพิ่มเติม สาเหตุก็เพราะ โครงการ Outright Monetary Transaction (OMT) ของ ECB ถือเป็นการเพิ่ม Money Supply ในระบบเศรษฐกิจยูโรโซนโดยตรง ส่งผลให้เกิดสภาพคล่องซึ่งคาดว่าจะหมนุเวียนในระบบมากขึ้น เงินทุนจึงกลับเข้าเก็งกำไรในสินทรัพย์เสี่ยง พร้อมทั้งมีความเชื่อมั่นในพันธบัตรของยูโรมากขึ้น การออก QE3 รอบนี้ ส่วนหนึ่ง น่าจะเป็นไปเพื่อสร้างสมดุลระหว่างค่าเงิน EUR และ USD ระหว่างกัน เพราะโดยธรรมชาติ อเมริกา เป็น Net Importer หาก US Dollar อ่อนค่าเกินไป จะส่งผลกระทบต่อนโยบายทางด้านเศรษฐกิจในอนาคต ดังนั้นการสร้างความเชืิ่อมั่นให้ตลาดอีกครั้ง ก็จำเป็นต้องได้ Action จาก Fed ในลักษณะแบบนี้
1 แนวคิดจาก Mr.messnger
ใครได้ประโยชน์?
1. คนแรกเลยที่ตลาดนึกถึง น่าจะเป็น Barack Obama – เนื่องจากการซบเซาในตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นฐานเสียงส่วนใหญ่ของ Democrat มีผลต่อการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในเดือน พ.ย. ที่จะถึงนี้ การออกมาตรการดังกล่าว น่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้ตลาดได้บ้างไม่มากก็น้อย
2. นักลงทุนผู้ถือสินทรัพย์เสี่ยง – มาตรการ QE3 และ OMT ของยูโรโซน จะเอื้อให้เกิดการทำ Carry Trade ทั้งในสกุล EUR และ USD ส่งผลให้ตลาด Commodity และ Capital Market กลับมาคึกคักอีกครั้ง หรืออย่างน้อยที่สุด Downside Risk ก็ลดลงไปค่อนข้างมาก
3. ประชาชนคนเดินดิน – (แต่อันนี้ไม่แน่ใจว่าได้ประโยชน์จริงๆไหม) เพราะการเข้าซื้อ MBS ก็เพื่อไม่ให้ต้นทุนการกู้ยืมของสินเชื่อที่อยู่อาศัยสูงเกินจนทำให้อำนาจการใช้จ่ายของประชาชนลดลง และทำให้เงินหมุนในระบบมากขึ้น ต่อเนื่องมาถึงการจ้างงานที่น่าจะปรับตัวดีขึ้น จะเห็นว่า กว่าจะมาถึงการจ้างงาน เราไม่รู้ว่ามันจะได้ผลมากน้อยแค่ไหน
ทำไม Fed รีบออก QE3 ทั้งๆที่เหลือการประชุมอีก 2 ครั้งในปีนี้?
Fed เหลือการประชุมเดือน ต.ค. และ ธ.ค. ก็จริง แต่เป็นช่วงรอยต่อระหว่างเหตุการณ์สำคัญที่จะเกิดขึ้นมาอเมริกานั้นก็คือ การเลือกตั้งประธานาธิปดี และ Fiscal Cliff การออกมาตรการอะไรในตอนนั้น อาจไม่ทันต่อการจัดการ Surprise Factors ในระยะสั้นๆ อีกทั้งการโหวตแผน หรือมาตรการกระตุ้นจากฝั่งการเมืองในอดีต ก็แสดงให้เห็นชัดว่า มีความไม่แน่นอนสูง (สังเกตจากการโหวตผ่านเพิ่ม Debt Ceiling ซึ่งกว่าจะรอดมาได้ ก็วินาทีสุดท้ายจริงๆ และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ S&P Downgrade อเมริกาจาก AAA Rating)
หลังจากนี้ ตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร?
ที่น่ากังวลคือ ถ้า QE เป็นมาตรการที่ดีจริง ถึงไม่ต้องมีถึง 3 ภาค (ถูกไหมครับ?) แต่เพราะมันส่งผลแค่ระยะสั้นๆ ทำให้ Fed ต้องคอยดูแล Take Care ไปตลอด ดังนั้น มาตรการ QE3 ครั้งนี้ ก็เหมือนครั้งก่อนๆ กล่าวคือ ในระยะสั้นๆ Risky Asset ทั่วโลกจะตอบรับในเชิงบวก ส่วนตัวเชื่อว่า อย่างน้อยๆก็ 3 เดือน แต่ในระยะยาว QE1 และ QE2 แสดงให้เราเห็นแล้วว่าไม่เพียงต่อการทำให้เศรษฐกิจอเมริกามีเสถียรภาพในระยะยาว
…. แต่ ผมก็เชื่อเหลือเกินว่า บริษัทที่ปัจจัยพื้นฐานดี ธุรกิจมั่งคงและผ่านร้อนผ่านหนาวมามากมาย จะได้รับผลกระทบจาก Sentiment ตลาดในระยะสั้นๆแค่นั้น (หากตัวเลขเศรษฐกิจแสดงความน่ากังวลอีกรอบ) ดังนั้น หุ้นดีๆ ยังคงเป็นตัวเลือกในการลงทุนต่อไป ขอให้ข้ามปัจจัยเรื่อง Sentiment ตลาดให้ได้ และมีวัตถุประสงค์ในการลงทุนที่ชัดเจน
แล้วราคาทอง?
ชัดเจนมา พอประกาศ QE3 ปั๊บ ราคาทองวิ่งทันที $30 มาทดสอบที่ระดับ $1,770 ซึ่งดูแนวโน้มแล้ว ไม่ยากที่จะแตะระดับ $1,800 ก่อนสิ้นปี แต่จากการถูกเก็งกำไรมาก่อนหน้า และวิ่งแรงตั้งแต่ $1,600 โดยไม่มีการปรับฐานระยะสั้นให้เห็นเลย จะทำให้มีโอกาสที่ราคาทองจะปรับฐานลงมาบ้าง ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสในการเข้าซื้อ สำหรับนักลงทุนที่สนใจเพิ่มพอร์ตการลงทุนในทองคำไปอีกระดับ จริงๆแล้ว ถึงไม่มี QE3 ราคาทองก็มี Story ให้ปรับตัวขึ้นในระยะยาวจากหลายประเด็น
1. ธนาคารกลางในยุโรป กลับมาเป็น Net Buy ในทองคำแท่งเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน หลังเป็น Net Sell มา 8 ปี ติด
2. ธนาคารกลางในประเทศเกิดใหม่สะสมทองเข้าคลังต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงจากการถือ EUR และ USD
3. Real Demand ของทองในตลาดเกิดใหม่อย่างจีนและอินเดียยังทรงตัวในระดับสูง
เพิ่มเติมอีกประเด็น ถ้าดูจากสถิติย้อนหลังเกี่ยวกับการออก QE กับราคา จะพบข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจ นั้นก็คือ
ราคาทอง ดูเหมือนจะวิ่งตามกันกับ Balance Sheet ของ Fed และ ECB หมายความว่า ทุกครั้งที่ออก QE จะทำให้หนี้ในงบดุลของธนาคารกลางโตขึ้น และการโตขึ้นของงบดุลนี้ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับราคาทองอย่างมีนัย ดูจากรูปครับ ซึ่งก็แปลว่า ตราบใดที่งบของธนาคารยังบวมขึ้นเรื่อยๆทุกปี ในระยะยาว ราคาทองก็คงลงยากเหมือนกัน
QE ย่อมาจากคำว่า Quantitative Easing ครับ เป็นนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed ที่ต้องการตรึงดอกเบี้ยต่ำและอัดฉีดเงินเข้าระบบด้วยการกว้านซื้อพันธบัตรรัฐบาลและตราสารภาครัฐอื่นๆ
ธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำนโยบาย QE เพื่อพยุงเศรษฐกิจของตัวเองที่มีคนว่างงานเยอะ โดยทำมาแล้ว 2 รอบ รอบแรกช่วงปี 2008 – 2010 รอบที่ 2 เป็นช่วงต้นปี 2011 ส่วนรอบที่ 3 นี้ Fed จะใช้เงิน 4 หมื่นล้านดอลล่าร์ต่อเดือนในการกว้านซื้อตราสารหนี้ภาครัฐ และจะทำไปเรื่อยๆ โดยไม่มีกำหนด
ผลของการทำ QE ทำให้ราคาพันธบัตรปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ลดลงต่ำกว่า 1.50% (ขณะนี้อยู่ที่ 1.75%) เมื่อดอกเบี้ยต่ำ นักลงทุนจึงต้องหันไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเพื่อให้ได้ผลตอบแทนมากขึ้น เมื่อคืนนี้ดัชนี Dow Jones ก็ปรับเพิ่มขึ้น 1.5% และเป็น new high ในรอบ 5 ปี ราคาทองคำก็ปรับเพิ่มขึ้นเป็น $1772 ต่อออนซ์
QE จาก SSO Savings Club
QE3 มีผลต่อเงินออมของเราอย่างไร?
QE3 น่าจะส่งผลให้ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำต่อไปอีก 2-3 ปี คนที่มีเงินออมจะเริ่มหงุดหงิดเพราะได้ดอกเบี้ยไม่คุ้มกับเงินเฟ้อ จึงต้องหันไปหาการลงทุนอื่นที่เสี่ยงมากขึ้น เช่น หุ้น หรือ ทองคำ ช่วงนี้คนที่มีหุ้นหรือทองคำในพอร์ตคงนั่งยิ้ม แต่สิ่งที่น่ากังวลและต้องติดตามกันต่อไป คือ เรากำลังได้รับผลตอบแทนจากหุ้นหรือทองคำคุ้มค่ากับความเสี่ยงหรือไม่ แล้วธนาคารกลางสหรัฐฯ จะต้องมี QE 4 หรือ QE5 ตามมาอีกไหมครับ
QE3 มีผลต่อเงินออมของท่านที่ออมไว้ในกองทุนประกันสังคมอย่างไร?
เงินลงทุนกองทุนประกันสังคมที่มีอยู่ 920,809 ล้านบาทนั้น เป็นเงินออมกรณีชราภาพประมาณ 8 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่นำไปลงทุนในพันธบัตรครับ มีการลงทุนในหุ้นอยู่ประมาณ 9%
การประกาศนโยบาย QE3 ทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูง (เพราะนักลงทุนต่างชาติไม่รู้จะเอาเงินไปทำอะไร จึงขนเงินมาซื้อหุ้นไทย) มูลค่าเงินลงทุนในหุ้นจึงเพิ่มขึ้นตามราคาตลาด อันนั้นเป็นข่าวดีครับ เพราะทำให้เงินออมของท่านมีมูลค่าสูงขึ้น ...แต่ข่าวร้ายก็คือว่า ภาวะดอกเบี้ยต่ำนั้นเกิดขึ้นทั่วโลก ตอนนี้พันธบัตรรัฐบาลไทยให้ดอกเบี้ยเพียง 3 - 4% ต่อปี การบริหารกองทุนประกันสังคมในทุกวันนี้จึงยากขึ้น เพราะเราไม่มีพันธบัตรที่ให้ดอกเบี้ย 5 - 6% ให้เลือกลงทุนเหมือนแต่ก่อนครับ
น่าสนใจใครได้ประโยชน์ เสียประโยชน์อย่างไร และมาตรการนี้ ส่งผลบวกต่อความความเชื่อมั่นในตลาดทุนทันที แต่ ผมไม่รู้ว่ามันช่วยระบบเศรษฐกิจได้ขนาดไหน
ออกตัวก่อนส่วนตัวผมก็เล่นหุ้นเฉพาะหุ้น Domestic เป็นส่วนมาก แต่ผมก็สนใจการเงินอยู่ ค่อยๆศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น