วันนี้ผมวางแผนว่าจะศึกษาความสัมพันธ์ของ RSI และ SSTO ซึ่งเป็นตัวเลขที่เกิดจากการคำนวณผมอยากจะเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้กับขีวิต ผมพบจุดอ่อนอย่างหนึ่งของผม ผมยังมองไม่กว้างพอและบางทีผมไม่ค่อยจะยอมรับความจริงในเรื่องที่คิดผิด แต่ตัวเลขมันก็เห็นๆกันอยู่ว่ามันผิดจริงๆ
ตื่นเช้ามาไปเข้าเวรคิดว่าบ่ายๆน่าจะว่าง แต่พอมีเพื่อนทักมาปรากฏว่า... จัดหนักครับ 5555
ปล.ต่อจากนี้เราจะมีบทความดีๆวันละบทความต่อท้ายน๊ะจ๊ะ
คุณเป็นชาวหุ้นแบบไหนกัน แน่? ตอบให้ชัด ๆ อย่าหลอกตัวเองคนที่เข้าสู่ตลาดหุ้น เราเรียกรวมๆ กันว่า เป็นคนเล่นหุ้น หรือ หากมีปฎิสัมพันธ์ต่อกัน(มีการติดต่อ ส่งข่าวสาร ซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นระหว่างเพื่อนที่เล่นหุ้น มาร์เก็ตติ้งหรือ นักวิเคราะห์ แม้การติดตามดูข่าวสารจากสื่อ เช่นเวป ทีวี โดยส่ง sms หรือ โทรคุยโทรถาม ฯลฯ) เราก็เรียกรวมว่าเป็นชาวหุ้น(stock player)แต่ในกลุ่มสังคมชาวหุ้นกันเอง เรามักได้ยินเสมอ ๆ ว่า พวกนักลงทุน ซึ่งมักยกย่องตนเองว่า พวก vi (value investors)หรือ นักลงทุนคุณค่า (เพราะมี idol ในสังคมให้เห็นเป็นตัวอย่าง) ซึ่งคนส่วนใหญ่รวมทั้งคนที่เรียกตนเอง ก็ไม่ทราบว่า ที่แท้คืออย่างไร มีปัจจัยประกอบสำหรับ vi คือ ใช้วิธีตัดสินใจซื้อขายด้วยข้อมูลทางปัจจัยพื้นฐานเป็นองค์ประกอบสำคัญ ดูสถิติ จากผลงานของกิจการเป็นหลัก รวมทั้งการแบ่งปันผลที่พึงพอใจ จากนั้นก็ติดตามข่าวสารของกิจการจนถึง วันที่ราคาพึงพอใจซื้อ ก็ซื้อไว้ด้วยเงินจำนวนเกือบเต็มพิกัดเท่าที่สถานะตนเองมี จากนั้นก็ตั้งเป้าหมายราคาขายที่พึงพอใจในอนาคต ตามหลักที่แท้จริงระยะเวลาอย่างต่ำต้องเท่ากับผลประกอบการที่กฎหมายหรือข้อบังคับระบุขั้นต่ำ คือทุกไตรมาส + กับเวลาที่ข้อกำหนดของตลาดหุ้นกำหนดอีก 45 – 60 วันทำการ รวมกันประมาณ ไม่น้อยกว่า 3 เดือนขึ้นไป ส่วนคำว่า มูลค่าคือ คุณค่า มีความหมายทางพฤตินัย คือ ไม่ใช่หาข้อมูลแบบหามรุ่งหามค่ำ หรือ ตั้งเป้าหมายเอากำไรเกินคาดผิดแปลกเหลือเชื่อ พอประมาณว่า พอเหมาะและการติดตามผลการลงทุนนั้นก็ไม่ถี่ยิบ อาจตรวจสอบสัปดาห์ละครั้งหรือ เดือนละครั้ง หรือ ตามสถานะการของข่าวสารที่มากระทบ จึงนับว่า มีคุณค่า มีความสุขแห่งตนก็พึงพอใจ ส่วนการไปแวะเยี่ยมกิจการ ถือเป็นส่วนประกอบในการหาข้อมูลในการตัดสินใจครานี้มาดู คนอีกกลุ่มหนึ่ง (ซึ่งถือเป็นกลุ่มใหญ่มากจนเกือบนับว่า ทั้งหมด ก็พอประมาณและเกิดขึ้นพร้อมกับการเปิดตลาดหุ้นเลยก็ว่าได้) สังคมหุ้นมักเรียกว่า นักเก็งกำไร (speculators) เป็นกลุ่มที่มีบางคนไม่ชอบ และมักให้สื่อโจมตีทางมิชอบ จนตั้งฉายา เป็นพวกแมงเม่า ที่โง่เขลา เล่นกับไฟ ตายบนกองไฟด้วยความเสี่ยง น่าอดสูยิ่งนัก ในเวลาต่อมา มีการพัฒนาวิธีการและใช้ข้อมูลสถิติเป็นตัวช่วย โดยนำมาวาดเป็นกราฟให้มองง่าย อ่านเร็ว ตัดสินง่าย จนมีผู้รู้ตั้งสูตรขึ้นมา ถึงปัจจุบันมากกว่า 50 สูตรแล้ว การใช้สถิติแบบนี้เรียกว่าการใช้เทคนิคทางกราฟ จนเป็น (technical speculators) และสำหรับใครที่มีความเข้มงวดมีวินัย ก็จะเข้าสู่ value speculators (vs) ซึ่งใช้วิธีตัดสินใจซื้อขายด้วย สถิติทางกราฟ และส่วนประกอบที่ปรับตามสภาพแวดล้อมพอเหมาะกับสถานการณ์และตนเอง เช่น parameter เวลา หรือ กฎต่างๆ เช่น เส้นแนวโน้ม (trend line)หรือกฎภาพรวมเวลา (timezone) หรือ ตัวเลขแห่งธรรมชาติ (finobacii) ฯลฯทั้งนี้ ส่วนมากต้องติดตามราคาในความถี่ที่ตนเองต้องการ จนต้องเฝ้าจอ และการที่ต้องเฝ้าจอก็เลยถูกจัดรวมเป็นพวก นักเก็งกำไรในความเป็นจริง นักลงทุนก็ต้องเฝ้าติดตามราคาเกือบทุกวันเวลา เพราะเงินที่ลงทุนไม่เงินเย็นมาก และโดยธรรมชาติจิตใจย่อมต้องการรู้ ต้องการปกป้องระวังภัยเงินของตน ถ้าไม่ใช่นักลงทุนแท้จริง ก็มักหวั่นไหวต่อการผกผันของราคา และส่วนมากก็ขายในเวลาเร็วกว่าที่มุ่งมั่นแต่แรก หรือไม่ก็ราคาติดดอยจนท้อใจจึงตัดใจคัท (cut loss)เราจะเรียกตัวเองเป็นพวกไหนดีล่ะ ลองเลือก ดู เช่น นักเก็งกำไร 30 วินาที , นักเก็งกำไร 100วินาที นักเก็งกำไร 30 วัน 30 สัปดาห์ 3 ปี หรือ นักลงทุนคุณค่า 60 วินาที 120 นาที นักลงทุน 3 เดือน นักลงทุน 5 ปี คุณเป็นพวกไหนกันแน่ ช่วยตอบให้ตนเองชื่นใจ หรือประกาศเสียงดังๆ ว่า ผมเป็นนักลงทุนคุณค่า 270 นาที (day trade) ผมไม่ใช่นักเก็งกำไร หรือ ร้องดังๆ ว่า ผมเป็นนักเก็งกำไรมือฉมัง 3 เดือน (ซื้อขายปีละ 4 ครั้ง) ลองหาคำตอบให้ตนเองดู แต่อย่าลืมกำหนดเวลาจริงที่ตนเองลงมือเสมอ ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น