วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2557

SK FaitH ปี 2 วันที่ 38 ( " ACAP " บริษัท เอแคป แอ๊ดไวเซอรี่ จำกัด (มหาชน) )

สรุปข้อมูลจากการอ่านข้อมูลบริษัท " ACAP " บริษัท เอแคป แอ๊ดไวเซอรี่ จำกัด

1.) ความเห็นส่วนตัว

- สงสัยว่าปันผล ปี 56 ที่ ปันผลออกมา 1 บาท ทำไม ทั้งทีบริษัทก็ไม่ได้เติบโต
- ทิศทางวการลงทุนยังเหวี่ยงแหอยู่
- ผมมองธุรกิจก็ยังคงไปได้แต่ ทิศทางหลักมันไม่ชัดเจนสำหรับรายงานที่ทำออกมานะคับ ต้องลองศึกษาลึกๆ
* การจ่ายปันผลเป็นอัตราสูงๆนั้น ในบางครั้งมีนัยสำคัญถึงมุมมองธุรกิจของผู้ถือหุ้นคับ ลองศึกษาเพิ่มเติมดู *
- ต้องลองมองดูทิศทางยาวๆไปคับ อย่างไรบริษัทก็มีเงินสดและมีประสบการณ์ด้านบริหารเงินพอสมตวร
- กรรมการบริหาร 1 คน ได้เงินเฉลี่ย ( รวมทั้งหมดแล้ว ) ปีละ 3.5 - 3.8 ล้าน
- เงินเดือนพนักงาน ( ไม่รวมผู้บริหารและบริษัทย่อยปี 56 ) = 22.9 ล้าน / ของผู้บริหาร 6 คน = 18.5 ล้าน
* รอดูการเคลื่อนไหวเงินสดก้อนใหญ่ก้อนนี้ *

2.) ประวัติความเป็นมาและลักษณะธุรกิจ

- ธุรกิจรับบริหารทรัพย์สินด้อยคุณภาพ ( ทวงหนี้ ) แต่ปีสิ้้นปี 56 ไม่มีงานรับจ้างเล่นเอางง
- ธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงิน
- ธุรกิจรับเป็น CALL CENTER
- ลงทุนในธุรกิจเครื่องสำอางค์ขั้นเริ่มต้น ( เขาบอกว่ามีเว็บ www.cheonsabeauty.com แต่เข้าไปดูยังไม่มี แต่ใน FB มีภาพนะคับ ^^ )






3.) โครงสร้างผู้ถือหุ้นและบริษัท , Market Cap , รายได้และกำไรประจำปี



รายได้แต่ละธุรกิจ

4.) บริษัทมุ่งเน้นกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ ดังนี้

- มีผลขาดทุนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ ประมาณ 107.59 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวม 791.78 ล้านบาท มีหนี้สินรวม 58.11 ล้านบาท มีส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่ประมาณ 740.02 ล้านบาท ซึ่งแม้ผลประกอบการจะขาดทุน แต่มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนต่ำเพียง 0.08 เท่า และมีสภาพคล่องทางการเงินในระดับสูงที่ 26.34 เท่า นอกจากนี้การที่บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเงินสดอยู่กว่า 400 ล้านบาทเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงฐานะทางการเงินที่มีความมั่นคงอยู่
- กลยุทธ์ไม่ชัดเจนเท่าไหร่คับ

5.) ลักษณะผลิตภัณฑ์และบริการ

- ณ สิ้นปี 2556 บริษัทฯ ไม่มีงานรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพแต่อย่างใด เนื่องจากสัญญาการรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพฉบับเก่าได้หมดอายุลงทุกสัญญาแล้ว ขณะที่บริษัทฯ ก็ไม่ได้สัญญาฉบับใหม่เข้ามาเพิ่ม ถึงแม้ในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้ดำเนินการหาพอร์ตลูกหนี้รายใหม่เข้ามาบริหารอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากการแข่งขันในธุรกิจที่สูงขึ้น ประกอบกับจำนวนพอร์ตที่สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์นำออกมาขายมีจำนวนไม่มากนัก ทำให้บริษัทฯ ยังไม่มีพอร์ตลูกหนี้รายใหม่เข้ามาบริหารเพิ่มแต่อย่างใด ( อนาคตยังมีแผนรองรับอยู่ )

- ในขณะที่งานด้านที่ปรึกษาทางการเงินและวาณิชธนกิจ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้บริการ ถือเป็นงานที่ยังไม่ได้ส่งมอบของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556 มีลูกค้าอยู่จำนวนประมาณ 5 ราย มูลค่าหนี้ในการให้บริการที่ปรึกษาทางการเงินต่างๆ เช่น การปรับโครงสร้างหนี้หรือหาเงินทุนประมาณ 7,124 ล้านบาท







6.) จุดแข่งขันเรื่องสินค้า

- จุดนี้ไม่ชัดเจน นอกจากความสัมพันธ์อันดีของผู้บริหารกับลูกค้า

7.) กลยุทธ์ทางการตลาด

- ปัจจุบันนี้บริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งหันมามุ่งเน้นธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงินและ/หรือวาณิชธนกิจมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นการเพิ่มรายได้ และสนับสนุนธุรกิจหลักทรัพย์ของตนเอง
- บริษัทฯ มีข้อเสียเปรียบเนื่องจากบริษัทฯ ไม่ได้เป็นบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งมีฐานลูกค้าและมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์เพื่อเสนอบริการรับประกันการจำหน่ายหุ้นให้แก่ลูกค้า
- ปัจจุบัน บริษัทฯ พยายามศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าลงทุนของธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง ทั้งนี้หากบริษัทฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า การเข้าลงทุนในธุรกิจใดๆ ที่เป็นธุรกิจใหม่ สามารถสร้างผลตอบแทน และมีความเสี่ยงต่ำ บริษัทฯ ก็พร้อมที่จะพิจารณาเข้าลงทุนเช่นกัน เช่น ในปลายปี 2555 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ให้บริษัทย่อย คือบริษัท เอแคป คอนซัลติ้ง จำกัด ได้เริ่มต้นการประกอบธุรกิจการจำหน่ายสินค้าเพื่อการเสริมสวย ได้แก่ เครื่องสำอาง อาหารเสริมสุขภาพ สมุนไพร เป็นต้น โดยใช้งบในการลงทุนขั้นต้นไม่เกิน 1 ล้านบาท ซึ่งหากในอนาคตมีการพัฒนาการเติบโตของธุรกิจได้ดี

8.) งบการเงินและการบริหาร









9.) สรุปจากข้อมูลสารสนเทศ

-

10.) การจัดการความเสี่ยง , ภาวะตลาด ต้นทุน การแข่งขัน

- พึ่งพิงความสัมพันธ์เฉพาะบุคคลของคณะกรรมการมากเกินไป
- ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงตามวัฎจักรของธุรกิจซึ่งกระทบธุรกิจการเงินโดยตรง
- ความเสี่ยงจากการพึ่งพาใบอนุญาตต่างๆ ( ถ้ามีปัญหาก็ไม่น่าเป็นมืออาชีพนะ )
- ความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระคืนหนี้ หรือค่าบริการล่าช้า เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่มาในรูปแบบของค่าธรรมเนียม ซึ่งหากลูกค้าประสบปัญหาสภาพคล่องก็อาจเป็นปัญหาได้
- ตลาด NPL ขึ้นลงตามภาวะเศรษฐกิจ : ณ สิ้นสุดไตรมาส 4/2556 เป็นจำนวน 265,648 ล้านบาท คิดเป็น 2.15% ของยอดสินเชื่อรวมของระบบสถาบันการเงิน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกัของปีก่อนประมาณ 11,441 ล้านบาท โดยยอดคงค้าง NPL ดังกล่าวมาจากกลุ่มธุรกิจประเภทการผลิตมากสุด คือมีจำนวนประมาณ 78,347 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ การอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ซึ่งมีจำนวนอยู่ประมาณ 71,612 ล้านบาท



- ตลาดธุรกิจปรับโครงสร้างหนี้ จัดทำแผนและบริหารแผนฟื้นฟูกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556 มีผู้ที่ได้รับอนุญาตทั้งที่เป็นนิติบุคคลและบุคคล ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ทำแผนจำนวน 14 รายและได้รับอนุญาตให้เป็นผู้บริหารแผนจำนวน 18 ราย ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะปฏิบัตbหน้าที่เป็นทั้งผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนไปพร้อมกัน เช่นเดียวกับบริษัทย่อยของบริษัทฯ คือ ACS ซึ่งจัดว่าเป็นผู้ให้บริการายใหญ่รายหนึ่ง

- ธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงิน : ขึ้นลงตามภาวะเศรษฐกิจ

11.) ภาพรวมการบริหารจัดการ

-

12.) รวมข้อมูลบทวิเคราะห์จากมุมมองต่างๆ

-

13.) กราฟหุ้น



_______________________________________________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น