วันจันทร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2557

SK FaitH ปี 2 วันที่ 44 ( " AF " : บริษัท ไอร่า แฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน) )

_______________________________________

สรุปข้อมูลจากการอ่านข้อมูลบริษัท " AF " : บริษัท ไอร่า แฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน) : ให้บริการด้านการเงินด้านการโอนสิทธิลูกหนี้



1.) ความเห็นส่วนตัว

- อ่านคร่าวๆเหมือนบริษัทซึ่งใช้ช่วงเวลาระหว่างที่คนขายให้เครดิตลูกหนี้ จนเกิดช่วงเวลาที่ล้อฟรี แล้วขาดสภาพคล่อง จึงยืมเงินบริษัทมาเพื่อใช้หมุนเวียน
- โดยรวมยังขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจประเทศ
* ตัวน้ถ้าเข้าใจกลไลตลาดอย่างแท้จริง ศึกษาลึกๆถ้าแนวโน้มเติบโตดีผมว่าน่าสนใจเหมือนกัน *

2.) ประวัติความเป็นมาและลักษณะธุรกิจ

- บริษัท ไอร่า แฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2540 เดิมใช้ชื่อว่า บริษัทธนมิตร แฟคตอริ่ง จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนจำนวน 20 ล้านบาท
- โดยการร่วมทุนระหว่าง บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 50 กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 38 และกลุ่มผู้ถือหุ้นอื่น ถือหุ้นร้อยละ 12 โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง เพื่อดำเนินธุรกิจแฟคตอริ่งโดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าให้แก่ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) เนื่องจากบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด มีบทบาทสำคัญในธุรกิจค้าปลีกจึงมีฐาน Supplier เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายสำคัญของธุรกิจแฟคตอริ่ง ในขณะที่กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ทำหน้าที่ให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่บริษัท
- ปี 2554 กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมได้จำหน่ายหุ้นให้กับบริษัท ซัมมัท คอร์ปอเรชั่น ซึ่งทำคำเสนอซื้อร่วมกับบริษัท ไอร่า แคปปิตอล จำกัด (มหาชัน) ต่อ กันยายน: บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 100 ล้านบาท เป็น 200 ล้านบาท และได้เปลี่ยนชื่อบริษัท จาก “บริษัท ธนมิตร แฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน)” เป็น“บริษัท ไอร่า แฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน)”
- ปี 2556 กุมภาพันธ์ : ได้มีการเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท โดยบริษัทซัมมิท คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้ขายหุ้นจำนวน 6,420,000 หุ้น ซึ่งคิดเป็นร้อยละ16.05 ของทุนชำระแล้วให้แก่บริษัท ไอร่า แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) ส่งผลให้บริษัท ไอร่า แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) มีหุ้นสามัญทั้งหมดจำนวน29,607,617 คิดเป็นร้อยละ 74.019 ของหุ้นทั้งหมด

- ธุรกิจแฟคตอริ่ง หรือการให้บริการเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้นโดยการรับซื้อลดลูกหนี้การค้า โดยการรับโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงิน
* รายได้หลักของบริษัทประกอบด้วย รายได้ส่วนลดรับจากการรับโอนสิทธิเรียกร้อง รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ (ค่าธรรมเนียมในการเปิดวงเงินและรายได้จากค่าธรรมเนียมรับซื้อ) *

3.) โครงสร้างผู้ถือหุ้นและบริษัท , Market Cap , การดำเนินงาน

รายละเอียดเกี่ยวกับทุน
ราคาพาร์ 5.00 บาท
หุ้นสามัญ , ทุนจดทะเบียน 200,000,000.00 บาท : ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 200,000,000.00 บาท



ผู้ถือหุ้น



โครงสร้าง



- รายได้แต่ละธุรกิจ







- งบการเงิน , สภาพคล่อง







- กระแสเงินสด



4.) วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ





5.) ลักษณะผลิตภัณฑ์และบริการ





บริษัทแบ่งประเภทของการแจ้งโอนสิทธิการรับเงิน ออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
* โดยจะเน้นกลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยงต่ำ ที่สามารถสอบทานความถูกต้อง ตลอดจนให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับลูกหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือ และสามารถโอนสิทธิการรับเงินให้บริษัทได้ *

- ประกอบธุรกิจแฟคตอริ่งภายในประเทศเป็นหลัก (Domestic Factoring) บริษัทเป็นผู้ให้บริการเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น โดยการรับซื้อลดลูกหนี้การค้าจากการรับโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงิน กลุ่มลูกค้าหลักเป็นธุรกิจที่อยู่ในภาคธุรกิจที่มีศักยภาพดี มีอัตราการเจริญเติบโตสูง และขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ลูกค้าของบริษัทดำเนินธุรกิจหลากหลายประเภท อาทิเช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ให้กับธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ทั้งนี้ปัจจุบันบริษัทมีนโยบายขยายฐานลูกค้าเป้าหมายไปยังภาคธุรกิจที่มีศักยภาพดีโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ เนื่องจากเป็นภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สำคัญของประเทศ มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นอุตสาหกรรมที่มีภาวะธุรกิจอยู่ในเกณฑ์ดี เป็นภาคธุรกิจที่มีผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมจำนวนมากประกอบกับลักษณะธุรกรรมชัดเจน ทำให้สามารถบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคาดว่าจะเป็นโอกาสในการเพิ่มปริมาณธุรกรรมของบริษัทได้เป็นอย่างดี
* โดยปกติลูกค้าจะให้เครดิตในการชำระเงินแก่ลูกหนี้ เมื่อลูกค้าต้องการเงินสดก่อนถึงงวดการชำระเงินของลูกหนี้ เพื่อนำไปใช้เป็นทุนหมุนเวียนหรือซื้อวัตถุดิบเพิ่ม ลูกค้าสามารถนำเอกสารการค้า ได้แก่ ใบส่งสินค้า ใบสั่งซื้อสินค้า ใบวางบิล มาขายลดพร้อมกับโอนสิทธิการรับเงินให้แก่บริษัท โดยบริษัทจะจ่ายเงินสดให้แก่ลูกค้าล่วงหน้าก่อนประมาณร้อยละ 80 ของยอดเงินตามเอกสารการค้า และเมื่อถึงกำหนดชำระเงินซึ่งปกติจะมีระยะเวลาไม่เกิน 180 วันบริษัทจะเป็นผู้ดำเนินการในการเรียกเก็บค่าสินค้าหรือบริการจากลูกหนี้ตามจำนวนเงินที่ปรากฏในเอกสารการค้า และดำเนินการคืนเงินในจำนวนเท่ากับส่วนต่างของยอดรับซื้อกับยอดเงินที่ได้รับจากการเรียกเก็บค่าสินค้าหรือบริการ *

6.) จุดเด่นของบริษัท

- บริษัทประกอบธุรกิจแฟคตอริ่ง มานานกว่า 17 ปี มีความรู้ความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์เป็นที่ยอมรับของวงการ นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเป็นอย่างดีในส่วนของการสอบทานมูลหนี้ ที่ลูกค้ามีธุรกรรมทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับกิจการของผู้ถือหุ้น รวมทั้งสามารถลดความเสี่ยงในการอำนวยสินเชื่อจากการตอบรับการแจ้งโอนสิทธิ ซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจแฟคตอริ่ง
- บริษัทประกอบธุรกิจแฟคตอริ่งในประเทศ โดยมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายชัดเจน เน้นลูกค้าที่มีความเสี่ยงต่ำ ที่สามารถสอบทานความถูกต้อง ตลอดจนให้ความสำคัญกับลูกหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือ และโอนสิทธิการรับเงิน ดังนั้นบริษัทจึงมีความเสี่ยงในการเรียกเก็บหนี้ต่ำ
- บริษัทมีกลุ่มผู้ถือหุ้นที่มีความมั่นคงสูง สามารถให้การสนับสนุนทั้งในเรื่องฐานธุรกิจและแหล่งเงินทุน และนอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท
- บริษัทมีระบบอำนวยสินเชื่อมีมาตรฐาน เชื่อถือได้ มีกระบวนการกลั่นกรอง พิจารณาความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ รวมทั้งมีการติดตามสถานะลูกค้าอย่างต่อเนื่อง สามารถลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจได้
- บริษัทได้จัดให้มีข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับการบริหารการจัดการของลูกค้า โดยให้คำปรึกษา หรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้า และเน้นการให้บริการลูกค้าที่สะดวก รวดเร็ว ใกล้ชิดมีความยืดหยุ่นในการพิจารณาประเด็นต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม

7.) กลยุทธ์ทางการตลาด

- ปี 56 บริษัทดำเนินกิจกรรมเชิงรุกทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น เป็นผลให้มีรายได้และกำไรมากขึ้นตามไปด้วย
- นโยบายการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่ขาดแหล่งเงินทุนสนับสนุน ซึ่งอยู่ในภาคอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และธุรกิจบริการที่มีแนวโน้มธุรกิจดี มีศักยภาพในการเจริญเติบโต และมีการขยายตัวดีตามภาวะเศรษฐกิจ โดยลูกค้ากว่าร้อยละ 45 จะเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าของกลุ่มค้าปลีกสมัยใหม่ (ModernTrade) และร้อยละ 37 เป็นกลุ่มลูกค้าธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ส่วนที่เหลือจะเป็นลูกค้าที่จัดจำหน่ายสินค้าให้แก่กลุ่มองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจข้ามชาติ
- นโยบายที่จะขยายฐานลูกค้าทั้งที่เป็น Supplier ของกลุ่มห้างสรรพสินค้าเดิมและกลุ่มลูกค้าซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
- บริษัทได้ใช้ระบบ Credit Rating เป็นเครื่องมือในการพิจารณาอนุมัติวงเงินเพื่อให้การบริหารความเสี่ยงและการอำนวยสินเชื่อมีประสิทธิภาพมากขึ้น

8.) ภาพรวมการบริหารจัดการ

- มีการจัดระบบลูกหนี้แบ่งเป็นประเภท ทั้ง เกณฑ์การคัดเลือดและเกณฑ์ประเภทลูกหนี้

9.) สรุปจากข้อมูลสารสนเทศ

10.) การจัดการความเสี่ยง , ภาวะตลาด ต้นทุน การแข่งขัน







* ในปี 2555 บริษัทได้จัดตั้งสำนักบริหารความเสี่ยงเพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจ เพื่อวิเคราะห์และติดตามดูแลการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงาน และบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามนโยบายสินเชื่อเพื่อช่วยให้ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นมีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และควบคุมให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
- ความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อ
ในการดำเนินธุรกิจแฟคตอริ่ง จะมีผู้ที่เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย คือ
1.1 บริษัทในฐานะบริษัทแฟคเตอร์ซึ่งเป็นผู้รับซื้อบัญชีลูกหนี้
1.2. ลูกค้า (CLIENT) ซึ่งเป็นผู้ขายบัญชีลูกหนี้ และ
1.3. บริษัทลูกหนี้ (CUSTOMER) ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าเงินเชื่อ
บริษัทแฟคเตอร์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิรับเงินค่าสินค้า
จากลูกค้า (ผู้ขายสินค้า) เมื่อถึงกำหนดระยะเวลาชำระค่าสินค้า หากไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ (ผู้ซื้อสินค้า)
ได้ บริษัทแฟคเตอร์สามารถเรียกร้องให้ลูกค้าชำระหนี้แทนได้ ยกเว้นในบางกรณีที่มีการรับแจ้งโอนสิทธิเรียกร้อง
แบบมีเงื่อนไข เช่น การรับโอนสิทธิเรียกร้องแบบไม่มีสิทธิไล่เบี้ยจากลูกค้า (Without Recourse) ดังนั้นบริษัท
แฟคเตอร์ จึงต้องพิจารณาฐานะกิจการของทั้งลูกค้าและลูกหนี้เป็นสำคัญ ซึ่งบริษัทมีระบบข้อมูลการบริหารสินเชื่อ
ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถดูแลทบทวนสถานะของลูกค้าและลูกหนี้ได้อย่างรวดเร็ว

- ความเสี่ยงจากการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อการขยายสินเชื่อ
- ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม
- ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงลูกค้า และลูกหนี้รายใหญ่
- ความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย

- ความเสี่ยงจากภาวะการแข่งขัน
ปัจจุบันมีบริษัทที่ประกอบธุรกิจแฟคตอริ่งและธุรกิจใกล้เคียงในประเทศไทยประมาณ 17 ราย โดยแต่ละ
บริษัทต่างมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน ซึ่งการแข่งขันมีผลต่อส่วนต่าง (Spread) ของอัตราดอกเบี้ยบ้างแต่ส่งผลให้
อัตราการขยายตัวของสินเชื่อเพิ่มขึ้น เนื่องจากทำให้ผู้ประกอบการรู้จักและเข้าใจธุรกิจแฟคเตอริ่งและสนใจเข้ามาใช้
บริการมากขึ้น สำหรับบริษัทมุ่งเน้นการให้บริการแฟคตอริ่งภายในประเทศเพียงอย่างเดียว

11.) รวมข้อมูลบทวิเคราะห์จากมุมมองต่างๆ

-

12.) กราฟหุ้น


_______________________________________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น