วันเสาร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2557

SK FaitH ปี 2 วันที่ 43 ( " AEONTS " : บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)

_______________________________________

สรุปข้อมูลจากการอ่านข้อมูลบริษัท " AEONTS " : เงินทุนและหลักทรัพย์ : บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)



* ตัวนี้ งวดบัญชีไม่เหมือนคนอื่นนะคับ เป็นรอบสิ้นสุดวันที่ 20 ก.พ. *

1.) ความเห็นส่วนตัว

- การใช้จ่ายภายในประเทศ โดยเฉพาะการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นนั้นได้รับแรงผลักดันจากนโยบายของรัฐบาลในการปรับเพิ่มฐานอัตราค่าแรงขั้นต่ำ การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล และมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
- จากการเติบโตในธุรกิจเครดิต เช่าซื้อนี้ แปลว่าอะไร ยังไง ^^
- ผู้บริหารถือหุ้นในบริษัทหลายคนเลย ( กลุ่มอิอินถือ 63% )
- ตัวนี้หลายคนน่าจะรู้จักดีเลยทีเดียว ^^

2.) ประวัติความเป็นมาและลักษณะธุรกิจ

- บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) จดทะเบียนก่อตั้งเป็นบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 18กันยายน 2535 โดยบริษัท อิออน เครดิต เซอร์วิส จำกัด ประเทศญี่ปุ่น (“อิออน เครดิต เซอร์วิส”) ปัจจุบัน บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้วทั้งสิ้น 250 ล้านบาท อิออน เครดิต เซอร์วิส ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น โดยประกอบธุรกิจให้บริการทางด้านการเงินต่างๆ รวมถึงบริการบัตรเครดิต บริการสินเชื่อเช่าซื้อ บริการสินเชื่อส่วนบุคคล และบริการอื่นๆ จากความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจในประเทศญี่ปุ่น และเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นโตเกียว อิออน เครดิต เซอร์วิส จึงเริ่มขยายธุรกิจไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย
- บริษัทฯ ประกอบธุรกิจหลักในการให้บริการสินเชื่อรายย่อย (Retail Finance) แก่ลูกค้าในหลากหลายรูปแบบทั้งสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อส่วนบุคคล และ อื่นๆ

3.) โครงสร้างผู้ถือหุ้นและบริษัท , Market Cap , การดำเนินงาน



ผู้ถือหุ้น





โครงสร้าง



- รายได้แต่ละธุรกิจ



- งบการเงิน , สภาพคล่อง



- กระแสเงินสด

ตรงส่วน CFO นี้ติดลบหนักเบย ทีนี้ไม่เข้าใจว่างบธุรกิจสินเชื่อนี้เขาหมุนอะไรกันยังไง
* อ่านกันเองเด้อ เพราะผมก็งงๆ แต่เข้าใจว่าน่าจะเป็นลักษณะของงบที่ใช้เงินหมุนเวียนสูง *

4.) วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ

สโลแกน : convenient,beneficial,safe

- นโยบายหลักในการดำเนินธุรกิจตลอดมา คือการบริการที่ให้ประโยชน์กับผู้ถือบัตรอิออนผ่านบริการสินเชื่อทางการเงินต่างๆ และปรัชญาในการดำเนินธุรกิจร่วมกันของกลุ่มผู้บริหารบริษัทฯ ทั้งในญี่ปุ่นและทั่วทั้งเอเชียคือการให้โอกาสทางการเงินแก่ลูกค้าผู้ถือบัตรเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันผ่านบริการทางการเงินที่ให้สิทธิประโยชน์สูงสุด อิออนได้ให้ความใส่ใจกับความต้องการของลูกค้าเป็นหลักและพยายามเพิ่มมาตรฐานการบริการทางการเงินของบริษัทฯ เพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้บริการให้กับลูกค้าบริษัทฯ ตลอดจนมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม และส่งเสริมการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

5.) ลักษณะผลิตภัณฑ์และบริการ

1.ธุรกิจบัตรเครดิต
บริษัทฯ ได้ออกบริการบัตรเครดิตซึ่งลูกค้าสามารถใช้บริการได้ 2 ลักษณะดังนี้
(ก) บริการซื้อสินค้าผ่านบัตรเครดิต (Credit Purchase) ที่ผู้ถือบัตรเครดิตของบริษัทฯ สามารถใช้บัตรเครดิต
ดังกล่าวในการซื้อสินค้าจากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ โดยบริษัทฯ จะเป็นผู้ชำระค่าสินค้าดังกล่าวให้กับร้านค้านั้นๆ
(ข) บริการเบิกเงินสดล่วงหน้า (Cash Advance) ที่ผู้ถือบัตรเครดิตของบริษัทฯ สามารถใช้บัตรดังกล่าวเบิกเงินสด
ล่วงหน้าที่เครื่องเบิกเงินสดอัตโนมัติ (ATM) ของบริษัทฯ
บัตรเครดิตของบริษัทฯ มี 2 ประเภท คือ
(1) บัตรเครดิตสากลที่ออกโดยบริษัท (AEON International Card)
(2) บัตรเครดิตสากลและบัตรเครดิตร่วมที่ออกร่วมกับบริษัทอื่น (International Co- branded Card
and Affinity Card)

สำหรับรายได้ที่บริษัทฯ ได้รับจากธุรกิจบัตรเครดิต ประกอบด้วย ดอกเบี้ย ค่าติดตามทวงถามหนี้ และค่าธรรมเนียมอื่น ได้แก่ ค่าธรรมเนียมรายปี ค่าธรรมเนียมการเบิกเงินสดล่วงหน้า ค่าตอบแทนที่ได้จากส่วนลดร้านค้าที่ร่วมโครงการเป็นต้น

2.ธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยายนต์
สินเชื่อเช่าซื้อเป็นการให้บริการสินเชื่อแก่ลูกค้าในรูปแบบของการให้เช่าสินค้า โดยมีเงื่อนไขการชำระค่าสินค้าที่แน่นอน โดยลูกค้าสามารถผ่อนชำระค่าสินค้าได้ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 48 เดือน ในช่วงระยะเวลาที่ลูกค้าผ่อนชำระค่าสินค้ากับบริษัทฯ กรรมสิทธิ์ในสินค้าจะยังเป็นของบริษัทฯ และเมื่อลูกค้าชำระค่าสินค้ารวมทั้งปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อโดยครบถ้วนแล้ว กรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าวจึงจะตกเป็นของลูกค้าอย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้มีการมุ่งเน้นการให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายคือบุคคลธรรมดารายย่อยทั่วไปที่มีระดับรายได้น้อยถึงปานกลางโดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะ โดยเน้นการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค

รายได้ที่บริษัทฯ ได้รับจากธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อ ประกอบด้วย ดอกเบี้ยรับจากการผ่อนชำระค่าสินค้า และค่าติดตามทวงถามหนี้ โดยหลังจากที่สินค้าได้ถูกส่งมอบให้แก่ลูกค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ร้านคู่ค้าก็จะส่งใบเรียกเก็บเงินให้แก่บริษัทฯ เพื่อรับชำระเงินค่าสินค้าต่อไป

3.ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล
บริการสินเชื่อส่วนบุคคลเป็นรูปแบบการให้กู้ยืมเงินแก่ลูกค้า ซึ่งประกอบไปด้วยสินเชื่อเงินสด และสินเชื่อแบบมีวัตถุประสงค์ เช่น สินเชื่อเพื่อซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องตกแต่งบ้าน เครื่องใช้สำนักงาน โทรศัพท์มือถือ สินค้าไอที และอื่นๆเป็นต้น ผ่านร้านคู่ค้ากว่า 15,700 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งร้านคู่ค้าดังกล่าว ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ ห้างสรรพสินค้าในเครืออิออน ประเทศญี่ปุ่น (จัสโก้ และ Max Value) ห้างเทสโก้ โลตัส ห้างแม็คโคร ห้างบิ๊กซี ห้างเพาเวอร์บาย ห้างโฮมโปรและอื่นๆ เป็นต้น โดยผู้ขอใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลของบริษัทฯ สามารถมาติดต่อยื่นใบคำขอสินเชื่อที่สำนักงานของบริษัทฯทั้ง 100 แห่งและยังสามารถส่งใบคำขอสินเชื่อพร้อมทั้งเอกสารประกอบต่างๆ มาทางไปรษณีย์ หรือสมัครผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งนี้

รายได้ของบริษัทฯ จากธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ประกอบด้วย ดอกเบี้ยรับจากเงินกู้ยืม ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน ค่าปรับจากการผิดนัดชำระเงิน อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 สินเชื่อเช่าซื้อและสินเชื่อบุคคลได้ถูกกำหนดภายใต้ข้อบังคับของกระทรวงการคลัง และให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราเพดานดอกเบี้ยค้างชำระ ค่าธรรมเนียมและค่าบริการต่างๆ สำหรับธุรกิจสินเชื่อบุคคล ไม่ให้เกินกว่าร้อยละ 28 ต่อปี

4.ธุรกิจบนอินเตอร์เนต
บริษัทฯอยู่ระหว่างการวางแผนเสนอรูปแบบการให้บริการโดยใช้ระบบสื่อสารออนไลน์ผ่านอินเตอร์เนต เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ถือบัตรอิออน โดยใช้จ่ายผ่านรูปแบบคะแนนสะสม ตลอดจนการเพิ่มช่องทางการชำระเงินผ่านอิเล็คทรอนิกส์เพื่อให้เกิดความสะดวกสบาย แก่ลูกค้า

5.ธุรกิจติดตามเร่งรัดหนี้สิน
บริการติดตามเร่งรัดหนี้สิน เป็นธุรกิจที่ดำเนินงานภายใต้ บริษัท เอซีเอส เซอร์วิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย โดยเป็นการให้บริการด้านการบริหารหนี้สินแบบครบวงจรอย่างเต็มรูปแบบในทุกธุรกิจ โดยบริษัทฯ ได้ให้บริการในการติดตามเร่งรัดหนี้สินทุกประเภท ได้แก่ สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิตร สินเชื่อเงินกู้ สินเชื่อจากการเช่าซื้อ/เช่าทรัพย์และค่าโทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งลูกค้าที่ใช้บริการมีทั้งลูกค้าที่อยู่ในกลุ่มบริษัทฯ และ ลูกค้ากลุ่มที่มาจากบริษัทอื่น เช่น ธนาคารสถาบันการเงินต่างๆ ธุรกิจสื่อสาร และ ธุรกิจลีสซิ่ง อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มีนโยบายในการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มลูกค้าที่มาจากบริษัทอื่นให้มากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพิงฐานลูกค้าจากกลุ่มบริษัทฯในการให้บริการติดตามเร่งรัดหนี้สินนั้น มีทั้งการให้บริการติดตามหนี้สินทางโทรศัพท์ และระบบเร่งรัดหนี้สิน รวม
ถึงการให้บริการติดตามหนี้สินโดยพนักงานภาคสนาม และให้บริการปรึกษาด้านกฎหมาย ตั้งแต่การบอกกล่าวทวงถาม ไปจนถึงบังคับคดี

รายได้ที่บริษัทฯ ได้รับจากธุรกิจติดตามหนี้สิน ประกอบด้วย รายได้หลักคือ รายได้จากค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บหนี้สินซึ่งคำนวณเป็นร้อยละของมูลค่าหนี้สินที่สามารถเรียกเก็บได้หรือคิดตามจำนวนครั้งที่สามารถทวงถามได้สำเร็จ และรายได้อื่นๆ ได้แก่ รายได้ค่าบริการทางด้านกฎหมาย ค่าออกเอกสารในการติดตามทวงถาม เป็นต้น

6.ธุรกิจนายหน้าประกันภัย
เป็นธุรกิจที่ดำเนินงานโดยบริษัท อิออน อินชัวรันส์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทใหม่ที่หลังจากการควบรวมบริษัทย่อย 2 บริษัท คือ บริษัท เอซีเอส อินชัวรันส์ โบรคเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เอซีเอส ไลฟ์อินชัวรันส์ โบรคเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ตามมติคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อเดือนมีนาคม 2556 โดยแบ่งเป็น 2 บริการหลัก ได้แก่ การให้บริการในส่วนของนายหน้าประกันวินาศภัย และนายหน้าประกันชีวิต โดยช่องทางการขายประกันภัยฯ มีทั้งทางโทรศัพท์ และ ณ จุดขาย นอกจากนี้บริษัทฯ ยังให้บริการในการให้คำปรึกษาและแนะนำลูกค้าที่เป็นนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา ในการรับประกันวินาศภัย และประกันชีวิต รวมไปถึงบริการดูแลและเรียกร้องสินไหมทดแทนในนามผู้เอาประกัน ซึ่งผลิตภัณฑ์กรมธรรม์ประกันฯ ต่างๆที่ให้บริการมีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่



6.) จุดแข่งขันเรื่องสินค้า

7.) กลยุทธ์ทางการตลาด

ปี 56
1.เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจบัตรเครดิต
2.ส่งเสริมธุรกิจใหม่
3.การขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ

- ได้เข้าซื้อบริษัทที่ประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย 2 บริษัท ซึ่งจะดำเนินการควบรวมเป็นบริษัทใหม่ มีชื่อว่า บริษัท อิออน อินชัวรันส์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด และได้เข้าซื้อบริษัท เอซีเอสเซอร์วิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ในเดือนกันยายน 2555 นอกจากนี้ บริษัทฯ เริ่มธุรกิจสินเชื่อผู้บริโภคในประเทศลาว และพม่าหลังจากประสบความสำเร็จในการจัดตั้งบริษัท อิออน ไมโครไฟแนนซ์ (ประเทศกัมพูชา) จำกัด ในเดือนตุลาคม 2554
- เพิ่มช่องทางอำนวยความสะดวกลูกค้า มีการขยายช่องทางการเบิกถอนเงินสดให้แก่ลูกค้า โดยลูกค้าไม่เพียงสามารถเบิกถอนเงินสดได้ที่ตู้ ATM ของอิออนเท่านั้น แต่ยังสามารถเบิกถอนเงินสดได้จากตู้ ATM ของธนาคารหลักๆ ที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงกับอิออน รวมทั้งถอนเงินสดได้ที่ไปรษณีย์ไทย และเคาน์เตอร์เซอร์วิสที่เซเว่น อีเลฟเว่น รวมทั้งสิ้นกว่า 29,000 แห่ง
- การใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลลูกค้า
- การให้บริการที่รวดเร็ว
- ความหลากหลายของสินค้าและบริการ
- การเพิ่มจำนวนร้านคู่ค้า
- การรวมศูนย์ปฏิบัติการและการสร้างเครือข่ายในการให้บริการที่ครอบคลุม

8.) ภาพรวมการบริหารจัดการ

- ผู้บริหารมีบุคลากรจากญี่ปุุ่น

9.) สรุปจากข้อมูลสารสนเทศ

10.) การจัดการความเสี่ยง , ภาวะตลาด ต้นทุน การแข่งขัน

ธุรกิจบัตรเครดิต
- ในปัจจุบัน ธุรกิจบัตรเครดิตในประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ จะเน้นในเรื่องการขยายฐานบัตรเครดิตและการกระตุ้นปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต อย่างไรก็ตามจากนโยบายของภาครัฐในการปรับเพิ่มฐานค่าแรงขั้นต่ำให้แก่แรงงานในประเทศ เป็นอัตรา 300 บาทต่อวัน และการปรับเพิ่มฐานรายได้ขั้นต้นสำหรับผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ให้มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน จะส่งผลให้ฐานลูกค้าบัตรเครดิตและบัตรสมาชิกเพิ่มขึ้น เนื่องจากบุคคลที่มีระดับรายได้ที่สามารถสมัครเครดิตได้มีจำนวนมากขึ้น ท่ามกลางภาวะการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นตามลำดับ
- คู่แข่งที่สำคัญในธุรกิจบัตรเครดิต คือ ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินต่างๆ

ธุรกิจเช่าซื้อรถ ( จยย. )
- ตลาดรถจักรยานยนต์ยังคงมีแนวโน้มขยายตัว จากนโยบายของภาครัฐ ในการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น ด้วยการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และประชาชนในกลุ่มรากหญ้าซึ่งเป็นผู้บริโภคหลักของตลาดรถจักรยานยนต์

ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล
- คู่แข่งหลักของบริษัทฯ ในธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินต่างๆ อาทิ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด บริษัท อีซี่บาย จำกัด (มหาชน) และบริษัท พรอมิส (ประเทศไทย)จำกัด
การให้สินเชื่อ - ต้องผ่านเงื่อนไข

- ความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราดอกเบี้ย
- ความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
- ความเสี่ยงจากความไม่เพียงพอของเงินทุนหมุนเวียน
- ความเสี่ยงด้านสินเชื่อ
- ความเสี่ยงจากการเก็บรักษาข้อมูล - มีระบบ THIN CLIENT
- ความเสี่ยงจากการเข้ามาควบคุมของภาครัฐ
- ความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ
- ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงผู้ถือหุ้นรายใหญ่เพียงรายเดียว

11.) รวมข้อมูลบทวิเคราะห์จากมุมมองต่างๆ

-

12.) กราฟหุ้น


_______________________________________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น