วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทประพันธ์แห่งซุนวู พิชัยสงคราม

วันนี้มีประโชน์ผมหยิบหนังสือ พิชัย สงคราม ซุนวู ที่เคยอ่านมาแล้วหลายรอบ มาอ่านอีกรอบเรียกว่า ครั้งนี้ ดูจะเข้าใจกว่าครั้งไหนๆ

มีหลายๆประโยคที่สมควรบันทึกเก็บไว้เพื่อเตือนสติ

ก่อนอื่นเริ่มต้นด้วยประโยค คลาสสิค "จงรู้ตัว สร้างตัว วางตัว และอย่าลืมตัว"

การหยั่งคาดการณฺ์
การสงคราม คือ วิถีแห่งกโลบาย เช่นนั้น
หากสามารถ,พึงสำแดงเสมอหนึ่งไร้ความสามารถ
หากพร้อมรุก,พึงสำแดงเสมอหนึ่งไม่พร้อมรุก
หากอยู่ไกล,พึงสำแดงเสมอหนึ่งอยู่ใกล้
หากอยู่ใกล้,พึงสำแดงเสมอหนึ่งอยู่ไกล

หากศัตรูได้เปรียบ,พึงหลอกล่อ
หากศัตรูสับสน,พึงหนักแน่น
หากศัตรูแข็งแกร่ง,พึงเตรียมพร้อม
หากศัตรูเข้มแข็ง,พึงหลีกเลี่ยง
หากศํตรูโกรธกริ้ว,พึงก่อกวน
หากศัตรูถ่อมตัว,พึงยุให้ทะนงตน
หากศัตรูออมแรง,พึงยุให้ออกแรง
หากศัตรูสามัคคี,พึงแยกสลาย
เข้าโจมตีตรงจุดที่ศัตรูไม่ระวังตัว
จงกลับออกมาตรงจุดที่ศัตรูมิคาดคิด

การทำสงคราม
"ผู้ใดมิรู้ถึงหายนะของสงคราม ผู้นั้นก็มิอาจรู้ถึงประโยชน์ของสงคราม"

การวางแผนโจมตี
"ฝ่ายใดรู้ว่าเมื่อใด รบได้และเมื่อใดรบไม่ได้ฝ่ายนั้น จักชนะ"
"ฝ่ายที่เตรียมพร้อมและรอคอยโอกาสบุกฝ่ายที่ไม่เตรียมพร้อมฝ่ายนั้นจักชนะ"
เช่่นนั้นจึงกล่าวได้ว่า
รู้เรารู้เขา ร้อยศึกมิพ่าย
รู้เรามิรู้เขา ชนะหนึ่งพ่ายหนึ่ง
มิรู้เรามิรู้เขา ทุกศึกพ่ายสิ้น

การวางกำลังพล
"กองทัพที่มีชัยจึงให้ได้เงื่อนไขสำหรับชัยชนะก่อนแล้วจึงหาทางสัประยุทธ์ ,
ส่วนกองทัพที่ปราชัยหาทางสัประยุทธ์ก่อนแล้วจึงให้ได้เงื่อนไชสำหรับชัยชนะ"

"เช่นนั้นผู้เชี่ยวชำนาณในการทำสงคราม ทำตนให้อยู่ในสภาวะที่ศัตรูมิอาจพิชิตได้ แต่มิอาจทำให้ศัตรูตกอยู่ในสภาวะพิชิตได้ง่ายและมิพลาดโอกาสในการพิชิตศัตรู"
อาจกล่าวได้ว่า ชัยชนะอาจล่วงรู้ได้แต่มิอาจสร้างขึ้นมาได้

พลานุภาพ
ในการสัประยุทธ์,มีการโจมตีอยู่เพียงสองรูปแบบ
พิสดารกับสามัญ,ครั้นพลิกผันพิสดารกับสามัญ ย่อมล้ำลึก
พิสดารกับสามัญเกื้อกูลแก่กันและกัน
เสมอหนึ่งวงกลมอันไร้ที่สิ้นสุด
มีใครไหนเลยเข้าใจความล้ำลึกนี้

จุดอ่อนและจุดแข็ง
รูปขบวนของกองทัพเสมอหนึ่งน้ำ
รูปขบวนของน้ำ เลี่ยงที่สูง ลงที่ต่ำ
รูปขบวนของกองทัพก็เช่นกัน เลี่ยงที่แข็ง ตีที่อ่อน
รูปขบวนของน้ำปรับตามภูมิประเทศขณะไหล
รูปขบวนของกองทัพก็เช่นกัน
ปรับตามสภาพของศัตรูเพื่อบรรลุชัยชนะ

การสัประยุทธ์
พึงใช้วินัย รอคอยความไร้ระเบียบ
พึงใช้ความสงบ รอคอยความพลุ่งพล่าน
นี่คือวิถีแห่งการควบคุมจิตใจ

เช่นนั้น ผู้เชียวชำนาญในการใช้กำลังจึงเลี่ยงยามเริงแรงแลโจมตียามราแรง
นี่คือวิถีแห่งการควบคุมพลานุภาพ

พึงใช้ใกล้ รอคอยไกล
พึงใช้ความสงบสบาย รอคอยความเหนื่อยล้า
พึงใช้ความอิ่น รอคอยความหิว
นี่คือวิถีแห่งการควบคุมความเข้มแข็ง

เช่นนั้นหลักแห่งการสงครามก็คือ
อย่าโจมตีศัตรูบนที่สูง
อย่าโจมตีศัตรูหันหลังอิงเนินเขา
อย่าไล่ตีศัตรูที่แสร้งถอย
อย่าโจมตีศัตรูที่ฉลาดเข้มแข็ง
อย่ากินเหยื่อที่ศัตรูใช้อ่อย
อย่าขัดขวางศัตรูที่ถอยคืนถิ่น

หากปิดล้อม พึงเปิดช่องทางหนี
อย่าบีบเค้นศัตรูที่จนตรอก
เหล่านี้คือหลักแห่งการสงคราม

การพลิกแพลงยุทธวิธ

เช่นนั้น แม่ทัพที่ชาญฉลาดจึงใคร่ครวญข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบ
การใคร่ครวญข้อได้เปรียบ ทำให้บรรลุการหยั่งคาดการ์ณ
การใคร่ครวญข้อเสียเปรียบ ทำให้ขจัดอุปสรรค
พึงจำไว้ว่า
มีเส้นทางบางสายมิควรเดินทัพ มีกองทัพบางหน่วยมิควรโจมตี มีเมืองบางเมืองมิควรยึด
มียุทธภูมิบางแห่งมิควรช่วงชิง มิโองการบางประการมิควรสนอง
เช่นนั้นหลักการแห่งสงครามคือ
พึงอย่าวางใจศัตรูที่ยังไม่มา
แต่ทว่าพึงวางใจในความพร้อมต้านตีศัตรู
พึงอย่าวางใจศัตรูที่ยังไม่โจมตี
แต่ทว่าพึงวางใจในตำแหน่งของเราที่มิอาจถูกโจมตี
เช่นนั้นลักษณะอันตรายของแม่ทัพ มีอยู่ห้าประการ
ผู้ไร้สติ อาจถูกฆ่า
ผู้ขี้ขลาด อาจถูกจับ
ผู้ฉุนเฉียว อาจถูกยั่วยุ
ผู้ดีงาม อาจถูกหมิ่นแคลน
ผู้รักอาณาประชาราษฎร์อาจถูกก่อกวน

การเดินทัพ
พึงทำตนให้แข็งแรงลำบากและเตรียมพร้อมต่อสู้
เช่นนั้น ผู้ขาดการวางแผนยุทธศาสตร์และประเมินศัตรูต่ำ จักถูกจับเป็นเชลย
เช่นนั้น จงใช้สมองให้จงมาก
อ่านเจตนาศัตรู แล้วจึงรบ

ภูมิประเทศ
รูปลักษณ์ของ๓มิประเทศเกื้อหนุนกองทัพ
หยั่งคาดการณ์ศัตรู สร้างเงื่อนไขสู่ชัยชนะ
การคาดคะเนภยันตรายและระยะทาง
คือ วิถีแห่งยอดแม่ทัพ
ผู้รู้ออกรับ มีชัยแน่แท้
ผู้มิรู้ออกรบ ปราชัยแน้แท่

เช่นั้น หากรู้ว่าไพร่พบโจมตีได้ แต่ไม่รู้ว่าศัตรูมิอานโจมตี
ชนะครึ่งหนึ่ง ,
หากรู้ว่าศัตรูถูกโจมตีได้ แต่ไม่รู้ว่าไพร่พลเรามิอาจโจมตี
ชนะครึ่งหนึ่ง
หากรู้ว่าศัตรูถูกโจมตีได้ รู้ว่าไพร่พลเราโจมตีได้ แต่มิรู้ภูมิประเทศในการสัประยุทธ์
ก็ชนะครึ่งหนึ่ง

เช่นนั้น ผู้รู้วิธีการเคลื่อนทัพจึงไร้ข้อจำกัดเมื่อสัประยุทธ์

เช่นนั้น กล่าวได้ว่า รู้เขารู้เรา ชนะมิเสี่ยง รู้ฟ้ารู้ดิน ชนะมิสิ้น

เก้ายุทธภูมิ
เช่นนั้น บนยุทธภูมิแตกพลัด ,พึงอย่ารบ
บนยุทธิภูมิชายขอบ ,พึงอย่าหยุดทัพ
บนยุทธภูมิพิพาท ,พึงอย่าโจมตี
บนยุทธภูมิเปิดโล่ง ,พึงอย่าแบ่งกำลัง
บนยุทธภูมิสามแพร่ง ,พึงผูกมิตร
บนยุทธภูมิวิกฤติ ,พึงกะเกณฑ์กวาดต้อน
บนยุทธภูมิวิบาก ,พึงรีบเดินทัพผ่านไปให้พ้นโดยเร็ว
บนยุทธภูมิปิดล้อม ,พึงใช้กโลบาย
บนยุทธภูมิมรณะ ,พึงทุ่มสรรพกำลังเข้าสัประยุทธ์

แต่ครั้งโบราณ แม่ทัพทีเชี่ยวชำนาญในสงคราม
สามารถสกัดกั้นทัพหน้าให้ขาดจากทัพหลัง
ทัพใหญ่มิอาจช่วยทัพเล็ก
นายมิอาจช่วยบ่าว
หน่วยเหนือมิอาจช่วยหน่วยล่าง
พึงแบ่งแยกศัตรู อย่าให้รวมกันติด
แม้นศัตรูรวมกันคิด พึงอย่าให้จัดระเบียบได้
พึงใช้ประโยชน์จากความไม่เตรียมพร้อมของศัตรู

สมประโยชน์ พึงรบ เสียประโยชน์ พึงหยุด

การโจมตีด้วยเพลิง
การใช้เพลิงช่วยเป็นความหลักแหลม ปรากฏผลเด็ดขาด
การใช้น้ำช่วยเป็นอานุภาพ ปรากฏผลชะงัด
น้ำตัดขาดกำลังศัตรูได้ แต่ทว่ามิอาจทำให้ศตรูย่อยยับได้

แม้นพิชิตศึก ยึดครองดินแดนของศัตรูได้
แต่ทว่าไม่ใช่ประโยชน์จากความสำเร็จนั้น
นับว่าเป็นความหายนะ
เรียกได้ว่าเป็นความสูญเปล่าและการเสียเวลา

เช่นนั้น แม่ทัพที่ชาญฉลาดพึงใคร่ครวญ และแม่ทัพที่ยอดเยี่ยมพึงปฏิบัติ
หากมิได้เปรียบ ,พึงอย่าเคลื่อนพล
หากมิได้ผล ,พึงอย่าใช้ไพร่พล
หากมิอันตราย ,พึงอย่าออกศึก

อันประมุข มิควรเคลื่อนพลด้วยความโกรธ
ส่วนแม่ทัพ ก็มิควรทำศึกด้วยกริ้ว
สมประโยชน์ ,พึงรบ
เสียประโยชน์ ,พึงหยุด

การใช้จารชน
จารชน เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน,ลึกซึ้ง,หลักแหลม และแยบคาย
มิมีที่แห่งใดที่มิอาจใช้จารชนได้
หากภารกิจของจารชนรั่วไหลก่อนลงมือปฏิบัติการ
ควรจำหน่ายทั้งจารชนและผู้รู้

สรุป พิชัยสงครามเบื้องต้นไว้ เท่านี้ ^^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น